ปลั๊กที่ใช้เชื่อมต่อสัญญาณภาพต่างๆมีหลายชนิด อาทิ เช่น
- RF
- Composit
- S-Video
- Component
- RGBHV
- VGA
- DVI
- HDMI
- USB
- Display
- RF สัญญาณที่ต่อเข้าช่อง RF นี้ มักมาจากเสาอากาศ เพราะคำว่า RF ย่อมาจาก Radio Frequncy(คลื่นวิทยุ) และคลื่น RF นี้เป็นพาหะนำสัญญาณภาพ Composit ละเสียงมาด้วย เช่นเดียวกับคลื่นไมค์ฯไร้สาย
- Compositเป็นสัญญาณภาพวีดีโอแบบดั้งเดิม ที่มีเฉพาะสัญญาณภาพและยังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สัญญาณนี้ส่วนใหญ่มาจากกล้องถ่ายวีดีโอและเครื่องเล่น/บันทึกภาพเป็น VCD กับ DVD หรือ BlueRay
- S-Video เป็นสัญญาณที่ดีกว่า Composit พอสมควร คนไทยไม่นิยมใช้เพราะเกือบทั้งหมดไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจจึงต่อสายสัญญาณอย่างผิดวิธี ภาพที่ได้จึงไม่ดี ช่างติดตั้งมักบอกลูกค้าว่าอย่าใช้ รวมทั้งมีสัญญาณภาพอย่างอื่นที่ดีกว่าให้ใช้แทน คนไทยเกือบทั้งหมดจึงไม่ใช้สัญญาณภาพชนิดนี้อีกแล้ว เว้นแต่ที่ต้องการใช้ เพราะต้องการต่อสัญญาณภาพจำนวนมากเข้าโปรเจคเตอร์ ดังนั้นการเพิ่มสัญญาณภาพ S-Video อีก 1 ช่องจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี
- Component Videoตามที่ผมเข้าใจ Component ก็คือ RGB แต่ระยะหลังคำว่าสัญญาณ Component มักจะหมายถึงสัญญาณจากเครื่องเล่น DVD ที่สัญญาณเป็น Y CbCr หรือไม่ก็ YPbPr ซึ่งคล้าย ๆ กับสัญญาณ Component Digital โปรดสังเกตว่า ไม่มีสัญญาณสีเขียว(Green) แต่แทนที่สัญญาณ Y (luminance) แทน
- RGBHV(Red, Green, Blue, Horizontal Sync, Vertical Sync) เป็นสัญญาณที่สามารถใช้สายที่ใช้สื่อทองแดงที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการสูญเสียคุณภาพน้อย RGBS (Red Green Blue Sync) สามารถใช้กับช่องนี้ได้ และน่าจะใช้ R GS B (Red Green Blue Sync on Green) กับช่องนี้ได้ ถ้าในสเปคของเขาบอกว่าใช้ได้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมใช้สัญญาณ RGBHV เพราะรู้จักแต่ VGA แถมราคาสาย RGBHV แพงกว่ามากและหาซื้อแทบไม่ได้ ต้องสั่งพิเศษ รวมทั้งช่างติดตั้งเกือบทั้งหมดไม่มีความรู้ด้านนี้
- VGA(Video Graphic Array) เป็นสัญญาณอนาล็อด ที่ไม่ว่าสัญญาณนั้นจะเป็น VGA SVGA(Super Video Graphic Array) XGA (Extended Graphic Array) ฯลฯ แต่ช่องรับสัญญาณส่วนใหญ่ยังใช้ปลั๊ก HD sub 15 ขาเข็ม ดังนั้นช่องนี้จึงยังเรียกว่า ช่องรับสัญญาณภาพ VGA สำหรับทุกความละเอียด ไม่มีการเรียกช่องรับสัญญาณภาพ SVGA หรือ XGA ฯลฯ
- DVI(Digital Visual Interface) เป็นสัญญาณดิจิตอล ต่อมามีการดัดแปลงให้รับสัญญาณ VGA ได้ โดยเพิ่มช่องสัญญาณอนาล็อดอื่น ๆ อีก 4 ช่องและแก้ไขเฟอร์มแวร์ให้รับสัญญาณ VGA ได้ ช่องรับสัญญาณ DVI รับเฉพาะสัญญาณดิจิตอลนี้ปัจจุบันเรียกว่า DVI-D และช่องที่รับได้ทั้ง ดิจิตอล และอนาล็อค VGA ที่ปัจจุบันเรียกว่า DVI-I แล้วยังมีแบ่งเป็น Single Link และ Dual Link อีกด้วย
- HDMI(High Definition Multimedia Interface) เป็นสัญญาณภาพดิจิตอลแบบเดียวกับ DVI แต่เพิ่มสัญญาณเสียงดิจิตอลเข้าไปด้วย ทำให้สะดวก และติดตั้ง ได้เรียบร้อย ปัจจุบันช่องรับสัญญาณ HDMI ค่อย ๆ เบียดช่องสัญญาณ DVI และมีโอกาศแทนที่อย่างเด็ดขาด
- USB (Universal Serial Bus) จอ LCD/PDP รุ่นใหม่ ๆ และขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อยขึ้นไป เริ่มมีช่องรับสัญญาณ USB เพื่อเล่นจากเครื่องเก็บข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์ หรือ แฮนดี้ไดร์ฟ(บางคนก็เรียกว่าทั้มไดร์ฟ ฯลฯ) ใช้ช่องนี้เพื่อทำงานแทน Photo Frame หรือ Digital Signage ที่ใช้โดด ๆ ไม่มีการพ่วงต่อทางเครือข่าย(network) และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อย ๆ
- DisplayPort เป็นมาตรฐานจากอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมยังไม่เคยเห็นของจริง ผมเคยถามร้านค้าในพันธ์ทิพย์พลาซ่าหลายราย แต่เจอเพียงคนเดียวที่บอกว่าเราทราบว่า DELLใช้ปลั๊ก DisplayPort มีบางคนบอกผมว่าเครื่องคอมของ Apple ใช้ Mini DisplayPortซึ่งผมต้องเข้าไปดูในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
DisplayPort นี้จะต่อตรงจากการ์ดจอแสดงผลไปยังจอมอนิเตอร์ โดยไม่ต้องผ่านชุดประมวลผลบางอย่างเช่น DVI และ HDMI ซึ่งจะทำให้โปรเจคเตอร์และจอมอนิเตอร์มีขนาดเล็กลง ซึ่งหมายถึงน้ำหนักที่ลดลงและราคาถูกลงด้วย
ได้ยินว่า DisplayPort กำหนดให้นัญญาณของเขาสามารถใช้ร่วมกับ DVI และHDMI ได้ ซึ่งในระดับผู้กำหนดมาตรฐานนั้นคงใช้เวลานานหน่อย แต่ในระดับช่าง วิศวกรนั้นคงหาวิธีแก้ปัญหาได้เร็วกว่า
ผมเชื่อว่า DisplayPort สามารถซอนไซเข้ามาในระบบภาพอย่างช้า ๆ แต่ผมไม่กล้าฟันธงว่าจะเป็นผู้พิชิตได้หรือไม่ แต่ที่น่าจะเป็นไปได้มากคือ HDMI น่าจะยังยึดตลาดโฮมเธียเตอร์ไว้ได้อยู่ ส่วน DisplayPort น่าจะแทรกเข้าภายใน 4-5 ปี เพื่อยึดตลาดคอมพิวเตอร์ได้
คงทราบกันแล้วว่าแต่ละปลั๊กสัญญาณภาพนั้นมีประโยชน์และลักษณะการใช้งานอย่างไรบ้าง และหากนำมาใช้กับโปรเจคเตอร์ซึ่งปัจจุบันจะมีใช้อยู่หลัก ๆ แค่ไม่กี่ชนิด เช่น VGA , HDMI, DVI หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง
และหากสนใจที่จะสั่งซื้อโปรเจคเตอร์สามารถสั่งซื้อได้ที่ https://projectorpro.in.th